วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีเชียงแสน
การแต่งการตามประวัติศาสตร์แลกโบราณคดี


    สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24) 
เชียงแสน” ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ (คณะอนุกรรมการ แต่งกายไทย, 2543: 91) เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัยชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก  มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ (โอม รัชเวทย์, 2543: 40) ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 
- ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง
- เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 
- ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ 

- เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว



การฟ้อนเชียงแสนหรือระบำเชียงแสน




ระบำ เชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน  อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗  ๒๕  ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย  ในสมัยโบราณเรียกว่าอาณาจักรลานนา  ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถ
แต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วยเช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่านบัญญัติเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว  ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสน จึงมีลีลาท่ารำ และกระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)
เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน ประกอบด้วย
๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ 
๒. เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง 
๓. ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง
๔. เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า 
๕. แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวยไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย










 ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนาไทย

     ศิลปะเชียงแสนมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อเราย้อน
ไปดูศิลปะขอมหรือลพบุรีได้อิทธิพลด้านรูปแบบจากขอมในเขมรเพราะเชื้อ
ชาติ ภูมิศาสตร์และการปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกัน ในทำนองเดียวกันศิลปะล้านนาหรือที่เดิมเรียกว่าเชียงแสน เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า สมัยราชธานีพุกามค่อนข้างมากด้วยเหตุผลด้านภูมิศาสตร์และการเมืองการปกครองเช่นกัน เดิมเรามักเรียกศิลปะยุคนี้ว่าเชียงแสนด้วยเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนมีความเก่าแก่ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และมีความสำคัญว่าเป็นเมืองหลักแต่ภายหลังพบว่าความสำคัญไม่เก่ากว่าก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙และเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเชียงแสนการเรียกว่าศิลปะล้านนาจึงจะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามกับพระพุทธรูปก็ยังนิยมเรียกว่าพระเชียงแสนอยู่ดี
งานประเพณีเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน

     วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปีสถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์ เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทยแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย

งานลอยกระทงเชียงแสน



 

                           
        ภายในงานจะมีมหรสพ ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าโอทอป มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง การประกวดโคมลอยหรือว่าวไฟ การประกวดโคมแขวน  การแข่งขันชกมวยไทย และมีการขายและเล่นประทัดตลอดทั้งงานและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวันเปิดงานจะมีการแห่ขบวนกระทงทั้งเล็กและใหญ่ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม คนที่มาร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบย้อนยุคหรือแบบล้านนามาร่วมเดินขบวน ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดเมืองเชียงแสนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ไหว้พระ ชมเมืองโบราณ ลอยกระทงในแม่น้ำโขง และการปล่อยโคมลอยทั้งมดนี้จะทำให้ได้สัมผัสกับอากาศหนาวๆ บรรยากาศดีๆที่ผืนน้ำเต็มไปด้วยแสงไปจากกระทงท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงไปอันสว่างจากโคมลอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น